เป้าหมายหลัก

week3


Day

Input

Process

Output

Outcome
จันทร์

โจทย์
พยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก (ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ)

 คำถาม:
นักเรียนคิดว่าพยัญชนะ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ ออกเสียงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

เครื่องมือคิด :
Brainstorms : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว
Blackboard  Share : คำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
 - Wall Thinking : ภาพ web แตกแขนงคำศัพท์
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- นิทานเรื่อง ทายซิฉันคือใคร
- เพลง “สระ”
- บัตรคำพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก (ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ)
- บัตรคำศัพท์ เช่นคำว่า เรือ เณร กีฬา
ขั้นนำ
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “สระ”
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
- ครูนำบัตรคำพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก (ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ) มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูพานักเรียนออกเสียงพยัญชนะ ฐานปุ่มเหงือก คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ
- ครูนำบัตรคำศัพท์ เช่นคำว่า เรือ เณร กีฬา ฯลฯ ให้นักเรียนสังเกตพร้อมฝึกอ่านออกเสียง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้:
นักเรียนเขียนคำศัพท์ลงในสมุดเล่มเล็กพร้อมวาดภาพประกอบ
 ขั้นสรุป   
ครูและนักเรียนร่วมกันฝึกการอ่านออกเสียง พร้อมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
เขียนคำศัพท์ลงในสมุดเล่มเล็กพร้อมวาดภาพประกอบ

ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่มีความหมาย
 - ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

















ความรู้
- รู้และเข้าใจพยัญชนะไทย และสามารถออกเสียงได้ชัดเจน
- สามารถเขียนคำศัพท์ง่ายๆและเข้าใจความหมายของคำ

ทักษะ
- มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่อ่านกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- รักการอ่าน












อังคาร
ขั้นนำ
ครูพานักเรียนฝึกอ่านออกเสียงพยัญชนะ  ตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก (ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ)
ขั้นสอน
ชง:
 ครูเล่านิทานเรื่อง ทายซิฉันคือใคร
เชื่อม :
-  สนทนาทบทวนเนื้อเรื่องในนิทาน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ในนิทานมีตัวละคร/ พยัญชนะตัวใดบ้าง” พร้อมกับครูเขียนพยัญชนะเหล่านี้บนกระดานและวาดภาพประกอบ
-  ให้นักเรียนยกตัวอย่างคำที่รู้จักที่ประกอบด้วยพยัญชนะที่เรียนในวันนี้  เช่น ร เรือ  ณ เณร  
ใช้:
นักเรียนฝึกเขียนคำศัพท์ลงในสมุดเล่มเล็กพร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป   
 ครูและนักเรียนร่วมกันฝึกการอ่านออกเสียง พร้อมสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ตัวอย่างภาพกิจกรรม


















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 พี่อนุบาล 2 มีโอกาสได้เรียนรู้กับคุณครูแป้ง เด็กๆ ได้ดูคลิปวีดีโอ และร้องเพลงสระเชื่อมโยงสู่สระ เอาะ ทุกคนสนุกและตื่นเต้นกับคำใหม่ ๆ ที่ตนเองได้เลือกตัวพยัญชนะไปใส่แล้วฝึกอ่านคำพร้อมวาดภาพสื่อความหมายของคำที่ได้

    ตอบลบ